Italy; Italian Republic

สาธารณรัฐอิตาลี




     อิตาลีเป็นประเทศที่จัดตั้งขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ แต่ในด้านประวัติศาสตร์เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองและมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ก่อนนานาประเทศในทวีปยุโรปอิตาลีเป็นที่ตั้งของกรุงโรมซึ่งเป็นเมืองหลวงและศูนย์กลางของความเจริญของจักรวรรดิโรมัน (Roman Empire) เป็นที่ตั้งของสำนักสันตะปาปาประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ทั้งยังเป็นอู่ของอารยธรรมตะวันตกแม้จักรวรรดิโรมันจะสลายตัวลงใน ค.ศ. ๔๗๖ แต่ในสมัยกลาง (Middle Ages)อิตาลีก็เป็นดินแดนแห่งแรกที่สามารถฟื้นตัวเป็นผู้นำทางด้านการค้าและความเจริญ และเป็นดินแดนต้นกำเนิดของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) อย่างไรก็ดีความรุ่งเรืองของดินแดนต่าง ๆ ในอิตาลีทำให้ประเทศในยุโรปที่ก้าวมาเป็นมหาอำนาจต่างผลัดเปลี่ยนกันขยายอิทธิพลและเข้ายึดครองจนนครรัฐต่างต้องสูญเสียการเป็นผู้นำทางด้านวัฒนธรรมอย่างไรก็ตาม ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ราชอาณาจักรปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียหรือปีดมอนต์หรือซาววอย (Kingdom ofPiedmont-Sardinia; Piedmont; Savoy) ซึ่งมีเคานต์คามิลโล เบนโซ ดิ คาวัวร์(Camillo Benso di Cavour ค.ศ. ๑๘๑๖-๑๘๖๑) เป็นอัครเสนาบดีสามารถเป็นผู้นำในการรวมชาติอิตาลี(Unification of Italy) ขึ้นได้สำเร็จใน ค.ศ. ๑๘๖๑
     อิตาลีมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน แต่เพิ่งจัดตั้งเป็นรัฐประชาชาติได้ใน ค.ศ.๑๘๖๑ ชื่อของประเทศมาจากภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า “ดินแดนแห่งฝูงวัว”เนื่องจากดินแดนทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ จากหลักฐานทางโบราณคดีปรากฏว่าคาบสมุทรอิตาลีมีมนุษย์อาศัยตั้งแต่ยุคหินเก่า (Paleolithic Age)ดินแดนลุ่มแม่น้ำไทเบอร์ (Tiber) ก็เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล (Neanderthal)เมื่อประมาณ ๕๐,๐๐๐ ปีที่แล้ว หลังจากเกิดอารยธรรมขึ้นในบริเวณรอบ ๆ ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอิตาลีก็เริ่มรับความเจริญต่าง ๆ ก่อนดินแดนอื่น ๆ ในยุโรปประมาณ ๒,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชอารยธรรมมิโนนและไมซีเนียน (Minoan andMycenaean Civilizations) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมกรีกก็ปรากฏร่องรอยขึ้นในหมู่เกาะลิปารี(Lipari) ทางตอนเหนือของเกาะซิซีลี(Sicily) และที่เกาะซิซีลีต่อมาใน ๑,๖๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชพวกอีทรัสกัน (Etruscan) จากเอเชียไมเนอร์ก็เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่เป็นแคว้นทัสกานี (Tuscany) ในปัจจุบัน พร้อมกับนำเอาอารยธรรมกรีกเข้ามาเผยแพร่ ส่วนพวกกรีกเองก็ได้เดินทางมาตั้งอาณานิคมซึ่งต่อมาเรียกว่า “แมกนากราเซีย”(Magna Graecia) ในตอนใต้ของอิตาลีใน ๘๐๐ปีก่อนคริสต์ศักราช มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณตั้งแต่เมืองเนเปิ ลส์ (Naples) จนถึงเมืองซีราคูซา (Siracusa; Syracuse) และเมืองเมสซินา (Messina) ในเกาะซิซีลี(ปัจจุบันก็ยังเห็นร่องรอยของอิทธิพลกรีกในชุมชนเล็ก ๆ บางแห่งในบริเวณดังกล่าวนี้ที่ยังนิยมพูดภาษากรีกเป็นภาษาท้องถิ่น) ในศตวรรษที่ ๖ ก่อนคริสต์ศักราชพวกอีทรัสกันได้มีอำนาจในแถบชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรอิตาลีตั้งแต่หุบเขาโป(Po) จนถึงบริเวณเมืองเนเปิลส์ และสามารถเข้าควบคุมดินแดนรอบ ๆ โรม ขณะเดียวกันชนเผ่าอื่น ๆ ที่อาศัยในคาบสมุทรอิตาลีก็รวมตัวกันจัดตั้งเป็น “นครรัฐ”ขึ้นเพื่อต่อต้านการขยายตัวและอำนาจของพวกอีทรัสกันและกรีก ชนเผ่าที่สำคัญ ได้แก่พวกลาติน (Latin) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวโรมันและชาวอิตาลีที่อาศัยในบริเวณที่ราบลาติอุมหรือเลชีอัม (Latium) ทางตอนใต้ของแม่น้ำไทเบอร์พวกลาตินได้รวมตัวกันเป็นพันธมิตรและจัดตั้งสันนิบาตขึ้น ใน ๕๐๙ ปีก่อนคริสต์ศักราชพวกลาตินได้ขับไล่กษัตริย์ีอทรัสกัน คือตูร์กวินีอุส ซูเปอร์บุส (Turquinius Superbus)ออกจากบัลลังก์และจัดตั้งโรมเป็นสาธารณรัฐ
     ใน ๒๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราชพวกลาตินได้มีอำนาจเหนือดินแดนอิตาลีทั้งหมดรวมทั้งเกาะซาร์ดิเนียและเกาะซิซีลี นอกจากนี้ หลังจากได้รับชัยชนะเด็ดขาดในสงครามพิวนิก (Punic War) ใน ๑๔๖ ปีก่อนคริสต์ศักราชต่อพวกคาร์เทจ (Carthage)ซึ่งเป็นชาวฟินิเชียน (Phoenician) ที่เดินทางเข้ามาตั้งอาณาจักรบริเวณทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาพวกลาตินหรือ “ชาวโรมัน”ก็ได้เป็นเจ้าทะเลเมดิเตอร์เนียน และสามารถผูกขาดการค้าระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออกและเอเชียไมเนอร์
     ใน ๒๗ ปีก่อนคริสต์ศักราช โรมได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐเป็นระบอบจักรวรรดิ โดยมีออกตาเวียน (Octavian) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรก โรมได้เจริญถึงขีดสูงสุดและสามารถขยายอำนาจปกครองและอิทธิพลไปทั่วทั้งยุโรป รวมทั้งเอเชียไมเนอร์และแอฟริกาเหนือ กรุงโรมซึ่งตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีเป็นศูนย์กลางของการค้าและความเจริญในด้านวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ แทนกรีก โดยนัยนี้ประวัติศาสตร์ของอิตาลีในระยะแรกจึงเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์จักรวรรดิโรมันและประวัติอารยธรรมตะวันตกอย่างแยกกันไม่ออก
     ระหว่าง ค.ศ. ๙๖-๑๘๐ เป็นช่วงระยะเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่“จักรพรรดิที่ดี๕พระองค์”ปกครองโรม แต่หลังจากนั้น โรมต้องประสบปัญหาทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการรุกรานของพวกอนารยชน รวมทั้งการเสื่อมโทรมทางศีลธรรมจรรยา ใน ค.ศ. ๓๑๒ จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantineค.ศ. ๓๐๖-๓๓๗) ทรงยอมรับคริสต์ศาสนาเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิ มีผลให้คริสต์ศาสนาเผยแผ่ไปทั่วดินแดนที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของโรม และต่อมาก็ได้กลายเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมและศรัทธาความเชื่อของชาวยุโรปที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
     ในคริสต์ศตวรรษที่ ๕ จักรวรรดิโรมันได้ถูกพวกอนารยชนเยอรมันหรือพวกกอท (Goth) เผ่าวิซิกอท (Visigoth) และเผ่าแวนดัล (Vandal) เข้ารุกรานคาบสมุทรอิตาลีและปล้มสะดมกรุงโรมใน ค.ศ. ๔๑๐ และ ค.ศ. ๔๕๑ ตามลำดับ ซึ่งนับเป็นความหายนะทั้งทางด้านวัตถุและการทำลายขวัญและกำลังใจของชาวโรมันเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาใน ค.ศ. ๔๗๖ จักรพรรดิเชื้อสายโรมันองค์สุดท้ายก็ถูกพวกอนารยชนขับออกจากบัลลังก์ นับเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโรมัน (ตะวันตก) และ
     ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ และโลกตะวันตกก็เข้าสู่ประวัติศาสตร์สมัยกลาง
     ในสมัยกลางตอนต้น ดินแดนต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกได้ตกอยู่ในสภาวะระส่ำระสายที่บ้านเมืองขาดผู้นำ ระบบการเมือง เศรษฐกิจและสังคมถูกทำลายส่วนอิตาลีก็กลายเป็นสมรภูมิในสงครามกอทิก (Gothic War ค.ศ. ๕๓๔-๕๕๔) ที่จักรพรรดิจัสติเนียน (Justinian ค.ศ. ๕๒๗-๕๖๕) แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์(Byzantine) ทรงพยายามยึดอำนาจการปกครองในคาบสมุทรอิตาลีจากพวกอนารยชนเผ่าออสโตรกอท (Ostrogoth) รวมทั้งยังถูกชนเผ่าต่าง ๆ เข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆได้แก่พวกลอมบาร์ด (Lombard)พวกแฟรงก์ (Frank) และพวกซาราเซ็น (Saracen)อิตาลีจึงกลายเป็นดินแดนที่เสื่อมถอยทางด้านวัฒนธรรม แต่ในขณะเดียวกันบิชอปแห่งโรม (Bishop of Rome) ก็สามารถสถาปนาอำนาจสูงสุดในคริสตจักรซึ่งต่อมาเรียกตำแหน่งนี้ว่า “สันตะปาปา” และสามารถจัดตั้งรัฐสันตะปาปาที่ครอบคลุมบริเวณตั้งแต่กรุงโรมจนถึงเมืองราเวนนา (Ravenna) อีกทั้งยังเป็นผู้สืบทอดอารยธรรมโรมันที่ยังหลงเหลืออยู่ให้คงอยู่ต่อไปได้ การรุกรานของพวกลอมบาร์ดที่ต้องการขยายอำนาจเข้าปกครองกรุงโรมในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๘ ทำให้สันตะปาปาต้องแสวงหาความช่วยเหลือจากพระเจ้าเปแปงพระวรกายเตี้ย(P”pin the Short) กษัตริย์แฟรงก์แห่งอาณาจักรคาโรลินเจียน (Carolingian)ใน ค.ศ. ๗๕๖ ซึ่งต่อมาทำให้กษัตริย์แฟรงก์ซึ่งปกครองดินแดนที่ครอบคลุมฝรั่งเศส -เยอรมันในปัจจุบันเข้าไปมีอิทธิพลในอิตาลี ใน ค.ศ. ๘๐๐ พระเจ้าชาร์เลอมาญ(Charlemagne)พระราชโอรสของพระเจ้าเปแปงพระวรกายเตี้ยได้รับสถาปนาจากสันตะปาปาเป็น “จักรพรรดิของชาวโรมัน”(Emperor of the Roman) หรือในเวลาต่อมา นักประวัติศาสตร์ตะวันตกยกย่องให้ทรงเป็น “จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ”(Emperor of the Holy Roman Empire)พระองค์แรก ซึ่งทำให้จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์พระองค์ต่อ ๆ มาพยายามเข้าไปมีบทบาททางการเมืองในคาบสมุทรอิตาลี จนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จักรพรรดิและสันตะปาปาแย่งชิงอำนาจกันตลอดสมัยกลาง และทำให้อิตาลีีไม่สามารถรวมตัวเป็นรัฐประชาชาติได้สำเร็จดังเช่นประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน หรือดินแดนใกล้เคียงอื่น ๆ อิตาลีถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ในรูปแบบการปกครองแบบนครรัฐอิสระที่มีระบอบการปกครองแตกต่างกันและรัฐสันตะปาปาก็เป็นรัฐหนึ่งที่มีอำนาจและอิทธิพลอย่างมากในสมัยนั้น
     อย่างไรก็ดีแม้จะขาดเอกภาพทางการเมือง แต่นครรัฐในคาบสมุทรอิตาลีก็เป็นศูนย์กลางของความเจริญมั่งคั่งและการฟื้นตัวของศิลปวัฒนธรรมของยุโรปกล่าวคือ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๑ เมื่อเกิดการฟื้นตัวของเมือง เมืองเก่าที่เคยรุ่งเรืองในสมัยจักรวรรดิโรมัน เช่น เมืองเวนิส (Venice) ฟลอเรนซ์ (Florence) เจนัว (Geno)และปีซา (Pisa) ในอิตาลีก็เป็นเมืองแรก ๆ ที่กลายเป็นศูนย์กลางของการค้าและเป็นสถานที่พบปะแลกเปลี่ยนและซื้อสินค้าระหว่างพ่อค้าจากดินแดนต่าง ๆ ก่อให้เกิดบรรยากาศคึกคักอีกครั้งในสังคมตะวันตกหลังจากที่เงียบเหงาเป็นระยะเวลาอันยาวนานในสมัยกลางตอนต้นอีกทั้งยังทำให้เกิดการฟื้นฟูการศึกษาขึ้นในคาบสมุทรอิตาลีมีการพัฒนาขยายตัวของโรงเรียนและจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยด้วย ที่สำคัญได้แก่มหาวิทยาลัยโบโลญญา (Bologna) และมหาวิทยาลัยปาดัว (Padua) ที่มีชื่อเสียงความเป็นฆราวาสนิยม (secularism) ของดินแดนต่าง ๆ ในอิตาลีได้ขยายตัวยิ่งขึ้นระหว่าง ค.ศ. ๑๓๐๕-๑๓๗๘ เมื่อสันตะปาปาได้ถูกกษัตริย์ฝรั่งเศส บีบบังคับให้ไปพำนักณ เมืองอาวีญง (Avignon) บนฝั่งแม่น้ำโรน (Rhone) ซึ่งเป็นเขตปกครองของฝรั่งเศส [ซึ่งเรียกช่วงเหตุการณ์นี้ว่าการคุมขังแห่งบาบิโลน (The BabylonianCaptivity)] และเหตุการณ์ต่อเนื่องเมื่อเกิดมหาศาสนเภท (The Great Schism)ระหว่าง ค.ศ. ๑๓๗๘-๑๔๑๗ ที่เกิดสันตะปาปา ๒-๓ สำนักที่เมืองอาวีญง กรุงโรมและเมืองปีซา เหตุการณ์ทั้งสองดังกล่าวทำให้ศาสนจักรสูญเสียความเป็นผู้นำในอิตาลีและเปิดโอกาสให้นครรัฐต่าง ๆ สามารถขยายอำนาจและอิทธิพล และต่างก็หันมาแข่งขันกันเป็นผู้นำทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและโดยเฉพาะด้านศิลปวิทยาการ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๔ อิตาลีได้ประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของอารยธรรมกรีก-โรมัน และเป็นผู้นำของลัทธิมนุษยนิยม(humanism) ในขณะที่นานาประเทศยุโรปยังตกอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบฟิวดัล (feudalism) ที่เคร่งครัดและมีความขัดแย้งทางการเมืองภายใน ใน “ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ”ดังกล่าวนี้ ซึ่งครอบคลุมระยะเวลาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ศิลปินและนักคิดชาวอิตาลีจำนวนมาก เช่น ดันเต อาลีเกรี (Dante Alighieriค.ศ. ๑๒๖๕-๑๓๒๑) ฟรันเซสโก เปตรากา หรือเปตราก (Francesco Petraca; Petrachค.ศ. ๑๓๐๔-๑๓๗๔) ีนโกเลาะ มาคีอาเวลลี (Nicol่Machiavelli ค.ศ. ๑๔๖๙-๑๕๒๗) เลโอนาร์โดดา วินชี(Leonardo da Vinci ค.ศ. ๑๔๕๒-๑๕๑๙) มิเกลันเจโลบูโอนาร์รอตี(Michelangelo Buonarroti ค.ศ. ๑๔๗๕-๑๕๖๔) ราฟาเอล ซันซีโอ(Raphael Sanzio ค.ศ. ๑๔๘๓-๑๕๒๐) และคนอื่น ๆ ต่างก็ได้รับการสนับสนุนและอุปถัมภ์จากราชสำนัก ขุนนางพ่อค้าที่มั่งคั่งแห่งนครรัฐต่าง ๆ โดยเฉพาะตอนเหนือและตอนกลางของอิตาลี รวมทั้งสันตะปาปาให้ผลิตผลงานด้านวรรณกรรมและวิิจตรศิลป์แขนงต่าง ๆ และทำให้อิตาลีเป็นแม่แบบของศิลปวิทยาการ วิิจตรศิลป์และวัฒนธรรมของยุโรป
     ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕อิตาลีได้ตกเป็นเหยื่อของการแย่งชิงดินแดนและอำนาจระหว่างฝรั่งเศส สเปน และออสเตรีย ใน ค.ศ. ๑๔๙๔พระเจ้าชาร์ลที่ ๘(Charles VIII ค.ศ. ๑๔๘๓-๑๔๙๘) แห่งฝรั่งเศส สามารถพิชิตราชอาณาจักรเนเปิลส์นอกจากนี้ พระองค์ยังสามารถขับตระกูลเมดีซี (Medici) จากการปกครองนครฟลอเรนซ์ (แต่กลับมาปกครองใหม่ในทศวรรษ ๑๕๓๐) และบังคับให้สันตะปาปายอมรับอำนาจของกษัตริย์ฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี ในเวลาไม่ช้าสเปน รัฐสันตะปาปาจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สาธารณรัฐเวนิส และนครมิลานได้รวมตัวกันเป็นสันนิบาตเพื่อต่อสู้กับอำนาจของฝรั่งเศส และสามารถขับกองทัพของพระเจ้าชาร์ลที่ ๘ ออกจากอิตาลีได้ แม้ว่าการรุกรานอิตาลีของฝรั่งเศส ในปลายสมัยกลางดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ดินแดนอิตาลี แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้วัฒนธรรมอิตาลีแพร่ไปยังฝรั่งเศส และส่วนต่าง ๆ ของยุโรปอย่างรวดเร็ว
     ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๖ จนถึงสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๗๘๙(French Revolution of 1789) คาบสมุทรอิตาลีได้ถูกสเปน ฝรั่งเศส และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผลัดเปลี่ยนกันเข้าไปมีอำนาจในการปกครอง โดยใน ค.ศ. ๑๕๐๑พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ ๕ (Ferdinand V ค.ศ. ๑๔๗๙-๑๕๑๖) แห่งสเปน ทรงรวมเนเปิลส์เข้ากับซิซีลีเป็นราชอาณาจักรซิซีลีทั้งสอง (Kingdom of the Two Sicilies)อีกครั้ง และให้อยู่ใต้การปกครองของกษัตริย์สเปน แต่เพียงพระองค์เดียว ซึ่งสเปน ก็ได้ปกครองดินแดนทั้งสองดังกล่าวจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ ในรัชสมัยพระเจ้าชาลส์ที่ ๑ (Charles I ค.ศ. ๑๕๑๖-๑๕๕๖)พระราชนัดดาซึ่งต่อมาทรงได้ครองราชสมบัติของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก (Habsburg) แห่งออสเตรีย และเฉลิมพระอิสริยยศจักรพรรดิชาลส์ที่ ๕ (Charles V ค.ศ. ๑๕๑๙-๑๕๕๘) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งมีผลทำให้สเปน และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ มีประมุขร่วมกันอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง สเปน ได้เข้าสู่สงครามกับฝรั่งเศส เพื่อช่วงชิงดินแดนในคาบสมุทร ฝรั่งเศส มีนครฟลอเรนซ์ เจนัว และวินีเชีย (Venetia) เป็นพันธมิตร แต่ต้องเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ใน ค.ศ. ๑๕๒๕ และพระเจ้าฟรานซิสที่ ๑ (FrancisI ค.ศ. ๑๕๑๕-๑๕๔๗) ก็ทรงถูกจองจำในสเปน ก่อนจะเสียค่าไถ่และเสด็จกลับฝรั่งเศส ได้ใน ค.ศ. ๑๕๒๗ ต่อมา ราชอาณาจักรทั้งสองก็ได้ก่อสงครามอีก และในค.ศ. ๑๕๒๙ ฝรั่งเศส ได้ยินยอมทำสนธิสัญญาสันติภาพกองเบร (Peace of Cambrai)และประกาศสละการอ้างสิทธิต่าง ๆ ในดินแดนอิตาลีซึ่งทำให้สเปน มีอำนาจเหนือดินแดนในคาบสมุทรอิตาลีเกือบทั้งหมด อย่างไรก็ดี พระเจ้าฟรานซิสที่ ๑ ก็มิได้ทรงยอมรับการพ่ายแพ้และได้ทำสงครามกับจักรพรรดิชาลส์ที่ ๕อีกระหว่าง ค.ศ.๑๕๓๖-๑๕๓๘ และ ค.ศ. ๑๕๔๒-๑๕๔๔ ซึ่งสร้างความหายนะให้แก่ดินแดนต่าง ๆในอิตาลีเป็นอันมาก
     ใน ค.ศ. ๑๕๕๙ สเปน กับฝรั่งเศส ได้ยุติปัญหาในคาบสมุทรอิตาลีโดยทั้งสองประเทศได้ร่วมกันทำสนธิสัญญาสันติภาพกาโต-กองเบรซี (Peace of Cateau-Cambr”sis) โดยสเปน มีอำนาจอย่างสมบูรณ์ในการปกครองเหนือดินแดนซิซีลีซาร์ดิเนีย เนเปิลส์ มิลาน และป้อมปราการริมชายฝั่งทะเลในทัสกานีส่วนฝรั่งเศส ต้องถอนตัวออกจากซาวอย และปีดมอนต์ แต่ยังคงมีกองทัพประจำการอยู่ในนครต่าง ๆอีก ๖ แห่งอย่างไรก็ดีแม้ว่าราชรัฐทัสกานี(Grandduchy of Tuscany) รัฐสันตะปาปา เจนัว ลุกกา (Lucca) ปาร์มา (Parma) รวมถึงเวนิสและนครรัฐเล็ก ๆอีกจำนวนหนึ่งยังคงรักษาอำนาจอธิปไตยไว้ได้ แต่การแย่งชิงอำนาจกันระหว่างสเปน กับฝรั่งเศส และสงครามที่ยึดเยื้อเป็นระยะเวลาอันยาวนานก็ทำให้ดินแดนอิตาลีส่วนใหญ่โดยเฉพาะในเขตชนบทประสบกับปัญหาความยากจนและกลายเป็นดินแดนที่ล้าหลัง
     ใน ค.ศ. ๑๗๐๐พระเจ้าชาลส์ที่ ๒ (Charles II ค.ศ. ๑๖๖๕-๑๗๐๐) กษัตริย์สเปน แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์กเสด็จสวรรคตโดยปราศจากรัชทายาทสายตรง และทรงทำพระราชพินัยกรรมยกราชอาณาจักรสเปน รวมทั้งอาณานิคมของสเปน และดินแดนในอิตาลีให้แก่เจ้าชายฟิลิปเคานต์แห่งอองชู (Philippe, Count of Anjou)พระราชนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ (Louis XIV ค.ศ. ๑๖๔๓-๑๗๑๕) แห่งฝรั่งเศส ซึ่งทรงมีศักดิ์ เป็นพระญาติสนิทของพระเจ้าชาลส์ที่ ๒ด้วย (ทั้งพระราชชนนีและพระมเหสีของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงเป็นเจ้าหญิงสเปน ) ดุ็กแห่งอองชูจึงทรงได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าฟิลิปที่ ๕ (Phillip V ค.ศ. ๑๗๐๐-๑๗๔๖) แห่งสเปน ก่อให้เกิดราชวงศ์บูร์บง (Bourbon) สายสเปน ขึ้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจเป็นอันมากให้แก่สมาชิกของราชวงศ์ฮับส์บูร์กสายออสเตรีย ในที่สุดออสเตรีย จึงรวมตัวกับอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และบรันเดนบูร์ก-ปรัสเซีย (Brandenburg-Prussia) ซึ่งต่างก็ไม่พอใจที่จะเห็นการแผ่อำนาจของราชวงศ์บูร์บงเป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามการสืบราชบัลลังก์สเปน (War of the Spanish Succession ค.ศ. ๑๗๐๑-๑๗๑๔) กับฝรั่งเศส สงครามสิ้นสุดลงด้วยสนธิสัญญายูเทรกต์ (Treaty of Utrecht) ใน ค.ศ.๑๗๑๔ โดยคู่สงครามยอมรับให้ราชวงศ์บูร์บงปกครองสเปน ได้ แต่ให้แยกสายกันอย่างเด็ดขาดโดยแต่ละสายปกครองเฉพาะราชอาณาจักรของตนเอง ขณะเดียวกันสเปน ก็ต้องสูญเสียดินแดนในคาบสมุทรอิตาลีได้แก่ มิลาน เนเปิลส์ ซาร์ดิเนีย และมันตาอู (Mantau) รวมทั้งท่าเรือต่าง ๆ ในทัสกานีให้แก่ออสเตรีย ทำให้ออสเตรีย เข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอิตาลีแทนสเปน อย่างไรก็ดีต่อมาใน ค.ศ. ๑๗๓๓ สมาชิกของราชวงศ์บูร์บงก็ได้กลับเข้าปกครองเนเปิลส์จนถึง ค.ศ. ๑๗๙๙ เมื่อถูกกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศส เข้ายึดครองและจัดตั้งเป็นสาธารณรัฐพาร์เทโนเปียน (PartheonopeanRepublic)
     ระหว่างสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars ค.ศ. ๑๗๙๒-๑๘๐๒) ดินแดนต่าง ๆ ในคาบสมุทรอิตาลีได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจและอิทธิพลของฝรั่งเศส นอกจากเนเปิลส์จะจัดตั้งระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐแล้ว ฝรั่งเศส ยังสนับสนุนให้พวกเสรีนิยมอิตาลีอันได้แก่ พวกขุนนาง ปัญญาชนและชนชั้นกลางกลุ่มต่าง ๆ จัดตั้งนครรัฐของตนเป็นสาธารณรัฐด้วย ได้แก่ สาธารณรัฐลิกู เรียน(Ligurian Republic ค.ศ. ๑๗๙๖) สาธารณรัฐซีซาลไพน์ [Cisalpine ประกอบด้วยลอมบาร์ดีและเอมีเลีย (Emilia) ค.ศ. ๑๗๙๗] และสาธารณรัฐโรมัน (RomanRepublic ค.ศ. ๑๗๙๘) ขณะเดียวกันฝรั่งเศส ก็ได้ผนวกเมืองนีซ (Nice) เมืองซาวอยและดินแดนบางส่วนของปี ดมอนต์เป็นของฝรั่งเศส ส่วนสาธารณรัฐเวนิสซึ่งเป็นนครรัฐอิสระและสามารถดำรงเอกราชมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานก็ถูกยกให้แก่ออสเตรีย เพื่อเป็นการตอบแทนที่สูญเสียลอมบาร์ดีและเนเธอร์แลนด์ ของออสเตรีย (Austrian Netherlands ปัจจุบันคือเบลเยียม ) ตามสนธิสัญญากัมโปฟอร์มีโอ (Treatyof Compo Formio ค.ศ. ๑๗๙๗) ฝรั่งเศส ได้เข้าครอบครองนครฟลอเรนซ์และบีบบังคับให้แกรนด์ดุ็กเฟอร์ดินานด์ที่ ๓ (Ferdinand III ค.ศ. ๑๗๙๐-๑๘๐๑, ๑๘๑๔-๑๘๒๔) แห่งทัสกานีีล้ภัยออกนอกราชรัฐ อย่างไรก็ดี ในปี เดียวกันนั้นเอง กองทัพของออสเตรีย และรัสเซีย ก็สามารถผนึกกำลังกันขับไล่กองทัพฝรั่งเศส ออกจากการยึดครองอิตาลีได้ในสงครามสหพันธมิตรครั้งที่ ๒ (Second Coalition War) และประมุขของดินแดนต่าง ๆ ก็สามารถฟื้นฟูอำนาจการปกครองได้อีก
     ใน ค.ศ. ๑๘๐๑ ระหว่างที่ฝรั่งเศส ปกครองในระบบกงสุล (ConsulateSystem) ซึ่งเป็นการปกครองในระบอบคณาธิปไตย (oligarchy) นโปเลียน โบนาปาร์ต(Napoleon Bonarparte) สามารถเข้ายึดครองดินแดนคาบสมุทรอิตาลีได้อีกครั้งได้มีการลงนามระหว่างฝรั่งเศส กับออสเตรีย ในสนธิสัญญาสันติภาพลูเนวีล (Treatyof Lun”ville ค.ศ. ๑๘๐๑) ซึ่งเป็นการยืนยันข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศส กับออสเตรีย ที่เคยทำกันในสนธิสัญญาสงบศึกกัมโปฟอร์มีโอ นอกจากนี้ มหาอำนาจทั้งสองยังตกลงให้ทัสกานีรวมตัวกับปาร์มาอีกด้วยเป็นราชอาณาจักรอิทรู เรีย (Kingdom ofEtruria) ต่อมาใน ค.ศ. ๑๘๐๒ ราชอาณาจักรปีดมอนต์ก็ถูกผนวกเข้ากับฝรั่งเศส และพระเจ้าชาลส์ เอมมานูเอลที่ ๔ (Charles Emmanuel IV ค.ศ. ๑๗๙๖-๑๘๐๒) ต้องสละราชสมบัติให้พระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ ๑ (Victor Emmanuel I ค.ศ. ๑๘๐๒-๑๘๒๑) พระอนุชาเป็นกษัตริย์ปกครองดินแดนที่เหลือเพียงเกาะซาร์ดิเนียเท่านั้น[ใน ค.ศ. ๑๘๐๕ การยึดครองปีดมอนต์ของฝรั่งเศส ได้รับการค้ำประกันในสนธิสัญญาเพรสส์บูร์ก (Pressburg) ซึ่งทำให้ฝรั่งเศส ได้อำนาจปกครองทัสกานีและปาร์มาด้วย]
     ใน ค.ศ. ๑๘๐๕ หลังจากนโปเลียน โบนาปาร์ตได้จัดตั้งจักรวรรดิฝรั่งเศส ที่ ๑(First Empire of France ค.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๑๔) และดำรงพระอิสริยยศจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ (Napolean I ค.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๑๕)พระองค์ได้สถาปนาสาธารณรัฐอิตาลี(Italian Republic) ซึ่งเดิมคือสาธารณรัฐซีซัลไพน์ขึ้นเป็นราชอาณาจักรอิตาลี(Kingdom of Italy) ซึ่งครอบคลุมดินแดนลอมบาร์ดีเวเนเชีย เอมีเลียและบางส่วนของอิตาลีตอนกลาง ทั้งนี้ โดยมีจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ดำรงพระอิสริยยศกษัตริย์แห่งอิตาลีส่วนสาธารณรัฐลิกูเรียนได้ถูกผนวกเข้ากับฝรั่งเศส ใน ค.ศ. ๑๘๐๖พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ ๔ (Ferdinand IV ค.ศ. ๑๗๕๙-๑๘๐๘) แห่งราชอาณาจักรเนเปิลส์ก็ทรงถูกขับออกจากบัลลังก์เพื่อเปิ ดโอกาสให้แก่โจเซฟ โบนาปาร์ต (JosephBonaparte) พระเชษฐาในจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ขึ้นครองราชสมบัติแทนจนถึงค.ศ. ๑๘๐๘ ก่อนที่จะเสด็จไปครองราชสมบัติสเปน และเฉลิมพระอิสริยยศพระเจ้าโจเซฟแห่งสเปน ขณะเดียวกัน จอมพล โชอากิม มูรา (Joachim Murat)พระสวามีในคาโรลีน (Caroline) พระขนิษฐาองค์เล็กของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ก็ได้เป็นกษัตริย์แห่งเนเปิลส์สืบแทนระหว่าง ค.ศ. ๑๘๐๘-๑๘๑๕ ในต้น ค.ศ. ๑๘๐๘ จักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ยังทรงบังคับให้ราชวงศ์บูร์บง [หรือบูร์บง-ปาร์มา (Bourbon-Parma)]ที่ปกครองราชอาณาจักรอิทรูเรียหรือทัสกานีสละราชบัลลังก์ และเปลี่ยนฐานะของราชอาณาจักรอิทรูเรียเป็นแกรนด์ดัชชีทัสกานีและพระราชทานให้เอลิส โบนาปาร์ต(Elise Bonarparte)พระขนิษฐาอีกพระองค์หนึ่ง ต่อมา ใน ค.ศ. ๑๘๐๙ สันตะปาปาไพอัสที่ ๗ (Pius VII) ซึ่งทรงทำความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาลหรือกงกอร์ดา ค.ศ. ๑๘๐๓ (Concordat of 1803) และยอมรับการจัดตั้งสาธารณรัฐอิตาลีก็เสด็จลี้ภัยออกจากกรุงโรม รัฐสันตะปาปาจึงถูกผนวกเข้ากับราชอาณาจักรอิตาลีคงเหลือเพียงซิซีลีเท่านั้นที่ปกครองโดยราชวงศ์บูร์บงซึ่งลี้ภัยมาจากเนเปิลส์และอยู่ในการคุ้มครองของอังกฤษ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๘๑๑ จักรพรรดินีมารีหลุยส์(Marie Louise) แห่งราชวงศ์อับส์บูร์กพระมเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ทรงให้กำเนิดเจ้าชายฟรองซัว ชาร์ล โจเซฟ โบนาปาร์ต (Fran“ois Charles JosephBonaparte)พระราชโอรสและองค์รัชทายาท จักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ซึ่งทรงตระหนักถึงความสำคัญของอิตาลีโดยเฉพาะกรุงโรมซึ่งเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมตะวันตกและคริสต์ศาสนามาโดยตลอด จึงทรงสถาปนาพระอิสริยยศ “กษัตริย์แห่งโรม”(King of Rome) ขึ้น และพระราชทานให้แก่พระราชโอรส เจ้าชายฟรองซัวก็ทรงดำรงพระอิสริยยศนี้จนสิ้นจักรวรรดิฝรั่งเศส ที่ ๑
     ในช่วงระยะเวลาที่อิตาลีตกอยู่ใต้อำนาจของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ นั้นชาวอิตาลีถูกลิดรอนอำนาจทางการเมืองอย่างสิ้นเชิง สถาบันทางการเมืองต่าง ๆ(ถ้ามี) ถูกยกเลิกและอิตาลีต้องดำเนินนโยบายเพื่อประโยชน์ของฝรั่งเศส เท่านั้นอย่างไรก็ดี ในด้านการบริหารภายในชาวอิตาลีกลับได้อำนาจในการบริหารจัดการและปกครองตนเองในระดับหนึ่ง การสูญเสียอำนาจของศาสนจักรและกลุ่มอภิสิทธิ์ ชนได้เปิดโอกาสให้อิตาลีสามารถพัฒนาระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจและการปฏิรูประบบเศรษฐกิจและสังคม มีการปรับปรุงระบบภาษีศุลกากร การใช้เงินตราและระบบชั่งตวงวัดให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งคาบสมุทร การสร้างถนนและขยายเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างเมืองใหญ่ ๆ ด้วยกันและกับชนบท การสร้างและพัฒนาเมืองให้ทันสมัยและมีขนาดใหญ่ขึ้น การปรับปรุงเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมรวมทั้งการส่งเสริมด้านสุขอนามัย ขณะเดียวกันฝรั่งเศส ก็ได้จัดตั้งกองทัพแห่งราชอาณาจักรอิตาลีขึ้นมา มีชาวอิตาลีเป็นจำนวนมากได้เข้าร่วมในกองทัพและเรียนรู้เทคนิคการรบและอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ แม้ว่าตำแหน่งผู้บังคับบัญชาระดับสูงจะตกอยู่ในมือของต่างชาติ แต่การเป็นทหารของ “ราชอาณาจักรอิตาลี”(Kingdom of Italy) ก็ได้สร้างความภาคภูมิใจเป็นอันมากให้แก่ชาวอิตาลีและช่วยหล่อหลอมอุดมการณ์ของ “ชาตินิยม” ให้แก่ิจตวิญญาณจนเกิดเป็นพลังความคิดที่จะรวมดินแดนต่าง ๆ ในคาบสมุทรอิตาลีทั้งหมดให้เป็นชาติเดียวกันในอนาคต
     นโยบายการขยายอำนาจและอิทธิพลของฝรั่งเศส ของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ทำให้ฝรั่งเศส ต้องเข้าสู่สงครามบ่อยครั้ง ในปลายรัชกาลหลังจากประสบความล้มเหลวในการยกกองทัพบุกจักรวรรดิรัสเซีย และการทำสงครามคาบสมุทร(Peninsular War ค.ศ. ๑๘๐๘-๑๘๑๔) กับอังกฤษ สเปน และโปรตุเกส ในคาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula) และสงครามสหพันธมิตรครั้งที่ ๔(The Fourth Coalition) ที่อังกฤษ ปรัสเซีย ออสเตรีย สวีเดน และรัสเซีย ร่วมเป็นพันธมิตรกัน ฝรั่งเศส เริ่มอ่อนแอลง และจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ต้องยินยอมสละราชบัลลังก์โดยไม่มีเงื่อนไขใน ค.ศ. ๑๘๑๔ นับเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศส ครั้งที่ ๑ และการสิ้นอำนาจของฝรั่งเศส ในคาบสมุทรอิตาลีด้วย
     ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (Congress of Vienna ค.ศ. ๑๘๑๔-๑๘๑๕)ได้มีการตกลงให้พื้นฟูระบอบการปกครองของราชวงศ์ที่สูญเสียอำนาจและตำแหน่งเนื่องจากสงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส และสงครามนโปเลียน (Napoleonic Warsค.ศ. ๑๘๐๔-๑๘๑๕) ให้กลับมาปกครองประเทศหรือรัฐเดิม รวมทั้งจัดให้ประเทศหรือรัฐต่าง ๆ ที่มีพรมแดนติดต่อกับฝรั่งเศส มีความมั่นคงแข็งแกร่งเพื่อเป็นการปิดล้อมฝรั่งเศส ไม่ให้ขยายอำนาจได้อีกต่อไป ข้อตกลงดังกล่าวมีผลให้มีราชวงศ์และเจ้าผู้ครองดินแดนในอิตาลีส่วนใหญ่กลับมาปกครองดินแดนดั้งเดิมของตน และสันตะปาปาก็ได้รัฐสันตะปาปาคืนด้วย ส่วนออสเตรีย ได้มิลานกลับคืน รวมทั้งทัสกานีและวินีเชีย [เพื่อชดเชยที่เสียเนเธอร์แลนด์ ของออสเตรีย หรือเบลเยียม ให้ แก่เนเธอร์แลนด์ ตามหลักการปิดล้อมฝรั่งเศส ] นอกจากนี้ แกรนด์ดัชเชสมารีหลุยส์หรืออดีตจักรพรรดินีมารี หลุยส์แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก พระมเหสีในจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ก็ทรงได้รับสิทธิในการครอบครองดัชชีปาร์มาและปีอาเซนซา (Piacenza) ตลอดพระชนม์ชีพ ซึ่งทำให้ออสเตรีย สามารถเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในทางตอนเหนือของอิตาลีส่วนราชอาณาจักรปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียก็ได้รับการฟื้นฟูและขยายให้ใหญ่ขึ้นโดยผนวกลีกู เรีย (Liguria) ซึ่งรวมทั้งเจนัวเข้าไปด้วย มีกรุงตูิรนเป็นเมืองหลวงราชวงศ์ซาวอย (House of Savoy) ก็ได้รับการทูลเชิญให้กลับมาปกครองอีก นับเป็น“ราชอาณาจักรของชนชาติอิตาลี” ที่สำคัญและมีศักยภาพทางการเมืองที่สุดในคาบสมุทรอิตาลีในขณะนั้น
     อย่างไรก็ดี ข้อตกลงของที่ประชุมใหญ่แห่งเวียนนาได้สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้แก่ชาวอิตาลีผู้เลื่อมใสในลัทธิเสรีนิยมและชาตินิยม ในช่วงสงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส และโดยเฉพาะในสมัยที่จักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ เรืองอำนาจนั้น“ระบอบเก่า”(Ancient Regime) ในคาบสมุทรอิตาลีได้ถูกทำลายลงและมีการจัดตั้งระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้นในดินแดนต่าง ๆ รวมทั้งการสถาปนาราชอาณาจักรอิตาลีดังที่กล่าวมาแล้ว แม้ว่าดินแดนอิตาลีทั้งหมดดังกล่าวจะไม่ได้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง แต่ก็เป็นการจุดประกายความคิดให้แก่ชาวอิตาลีในการจะรวมชาติอิตาลีดังนั้น สมาคมคาร์โบนารี (Carbonari) ซึ่งเป็นสมาคมลับที่จัดตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการยึดครองของฝรั่งเศส ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙และสนับสนุนระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐโดยเน้นลัทธิชาตินิยม จึงเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นในหมู่ชาวอิตาลี นับแต่ ค.ศ. ๑๘๑๕ เป็นต้นมาสมาคมคาร์โบนารีได้มีเป้าหมายในการกำจัดอำนาจของออสเตรีย ที่ปกครองและมีอิทธิพลในอิตาลีตอนเหนือการล้มล้างระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และการรวมประเทศให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
     ใน ค.ศ. ๑๘๒๐ ค.ศ. ๑๘๒๑ และ ค.ศ. ๑๘๓๐ สมาคมคาร์โบนารีได้เป็นแกนนำในการก่อการจลาจลเพื่อล้มล้างอำนาจการปกครองในเนเปิลส์ ปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียและรัฐสันตะปาปาตามลำดับ แต่ล้มเหลว โดยถูกกองทัพออสเตรีย เข้าปราบปรามอย่างราบคาบ สมาคมคาร์โบนารีซึ่งปราศจากผู้นำที่มีความสามารถ อีกทั้งการดำเนินการก็ขาดการประสานงานระหว่างสมาชิกในดินแดนต่าง ๆ และมักทำกันในรูปแบบของขบวนการท้องถิ่นมากกว่าระดับชาติจึงค่อย ๆ สลายตัวลง และเปิดโอกาสให้จูเซปเป มัซซีนี(Giuseppe Mazzini) สมาชิกคนหนึ่งของสมาคมคาร์โบนารีจัดตั้งขบวนการอิตาลีหนุ่ม (Young Italy) ขึ้นใน ค.ศ. ๑๘๓๑ เพื่อทำการปฏิวัติล้มล้างระบอบเก่าและรวมชาติอิตาลี
     ระหว่างทศวรรษ ๑๘๓๐ ถึงการปฏิวัติค.ศ. ๑๘๔๘ (Revolutions of 1848)บรรยากาศของการต่อต้านออสเตรีย และความต้องการจะรวมชาติอิตาลีหรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า “รีซอร์ีจเมนโต”(Risorgimento) ได้แผ่กระจายไปทั่ว ชาวอิตาลีจำนวนมากได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของขบวนการอิตาลีหนุ่ม ซึ่งรวมทั้งจู เซปเป การีบัลดี(Giueseppe Garibaldi) ชาวปีดมอนต์-ซาร์ดิเนีย มัซซีนีได้มอบหมายให้เขาปลุกระดมพวกทหารเรือของราชอาณาจักรปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียให้ร่วมก่อการกบฏ การีบัลดีทำงานล้มเหลวและถูกตัดสินประหารชีวิต แต่เขาหลบหนีไปฝรั่งเศส ได้ ต่อมาเดินทางไปเคลื่อนไหวและต่อสู้ร่วมกับขบวนการชาตินิยมอุรุกวัย (Uruguay) ในทวีปอเมริกาใต้ประสบการณ์ดังกล่าวทำให้เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญในสงครามกองโจร และเมื่อเดินทางกลับมายังอิตาลีก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการต่อสู้กับกองทัพออสเตรีย และฝึกทหารฝ่ายกบฏในรัฐสันตะปาปาในการต่อต้านกองทัพฝรั่งเศส ใน ค.ศ. ๑๘๔๙
     เมื่อเกิดการปฏิวัติ ค.ศ. ๑๘๔๘ โดยเริ่มต้นขึ้นในฝรั่งเศส เพื่อโค่นล้มพระเจ้าหลุยส์ ฟิลิป (Louise Philippe ค.ศ. ๑๘๓๐-๑๘๔๘) และขยายตัวไปยังกรุงเวียนนา เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย นั้น ขบวนการชาตินิยมอิตาลีในรัฐต่าง ๆจึงเห็นเป็นโอกาสก่อกบฏเพื่อทำลายระบอบเก่าและกำจัดอำนาจของออสเตรีย ในดินแดนอิตาลีในวันที่ ๑๘ มีนาคมได้เกิดการจลาจลขึ้นในมิลาน ต่อมาในวันที่ ๒๒กองทัพออสเตรีย ก็ถูกขับออกจากเวนิส และมีการจัดตั้งสาธารณรัฐวินีเชีย (VenetianRepublic) ขึ้น ดังนั้นเพื่อป้องกันเหตุการณ์รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในราชอาณาจักรปีดมอนต์-ซาร์ดิเนีย กอปรกับแรงกดดันของประชาชน พระเจ้าชาลส์ อัลเบิร์ต(Charles Albert ค.ศ. ๑๘๓๑-๑๘๔๙) จึงทรงยอมเป็นผู้นำในการต่อต้านอำนาจและอิทธิพลของออสเตรีย ในคาบสมุทรอิตาลี และประกาศสงครามกับกองทัพออสเตรีย ที่เข้ามาปราบปรามฝ่ายกบฏในปลายเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๘๔๘ ชาวอิตาลีจำนวนมากจากดินแดนต่าง ๆ ได้เข้าร่วมรบในกองทัพปี ดมอนต์-ซาร์ดิเนีย ส่วนสันตะปาปาไพอัสที่ ๙ (Piux IX) ที่ชาวอิตาลีชาตินิยมต้องการให้เป็นผู้นำของ “การปลดปล่อยอิตาลี” กลับวางตัวเป็นกลาง และในที่สุดได้เสด็จลี้ภัยออกจากกรุงโรมเพราะไม่ต้องการให้ชาวอิตาลีต่อสู้กับออสเตรีย ซึ่งเป็นชาติผู้นำที่นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก
     สงครามระหว่างปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียกับออสเตรีย ได้สิ้นสุดลงในเดือนมีนาคมค.ศ. ๑๘๔๙ เมื่อกองทัพออสเตรีย มีชัยชนะอย่างเด็ดขาดในการรบที่เมืองโนวารา(Novara) มีผลให้พระเจ้าชาลส์อัลเบิร์ตต้องสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอรส คือเจ้าชายวิกเตอร์ เอมมานูเอล ต่อมาเฉลิมพระอิสริยยศพระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ ๒ (Victor Emmanuel II กษัตริย์แห่งบีดมอนต์-ซาร์ดิเนีย ค.ศ. ๑๘๔๙-๑๘๖๑กษัตริย์แห่งอิตาลี ค.ศ. ๑๘๖๑-๑๘๗๘) และยังเป็นการทำลายความหวังของชาวอิตาลีที่จะเห็นราชอาณาจักรปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียเป็นผู้นำในการรวมชาติอิตาลีด้วย
     อย่างไรก็ดี การต่อสู้ระหว่างชาวอิตาลีกับกองทัพออสเตรีย และกลุ่มอำนาจเก่าในดินแดนอื่นก็ยังคงดำเนินต่อไป โดยเฉพาะในกรุงโรมซึ่งได้ประกาศจัดตั้งเป็นสาธารณรัฐโรม (Roman Republic) และยุบอำนาจปกครองของสันตะปาปาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๔๙ โดยมีมัซซีนีและการีบัลดีเป็นผู้นำ สันตะปาปาไพอัสที่ ๙ ทรงเรียกร้องให้ออสเตรีย ฝรั่งเศส และสเปน เข้าปราบปรามพวกกบฏดังนั้นเจ้าชายหลุยส์ นโปเลียน (Louis Napoleon) พระภาติยะ (หลานลุง) ของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๑ ซึ่งเพิ่งได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีของฝรั่งเศส และต้องการเสียงสนับสนุนจากพวกคาทอลิกภายในประเทศจึงส่งกองทัพมาช่วย กองทัพออสเตรีย และเนเปิ ลส์ได้ร่วมมือกันกับฝรั่งเศส ปะทะกับกองทัพของการีบัลดีจนแตกพ่ายอย่างยับเยิน ในเดือนกรกฎาคมกองทัพฝรั่งเศส ก็สามารถเคลื่อนพลเข้ายึดกรุงโรมและฟื้นฟูอำนาจของสันตะปาปา นับเป็นการสิ้นสุดของสาธารณรัฐโรมที่มีอายุเพียง ๕ เดือนเท่านั้น
     เมื่อการปฏิวัติ ค.ศ. ๑๘๔๘ สิ้นสุดลง ราชอาณาจักรปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียเป็นดินแดนแห่งเดียวที่รัฐธรรมนูญมิได้ถูกยกเลิก (พระเจ้าชาลส์ อัลเบิร์ตพระราชทานในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๘๔๘) ปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นรัฐเสรีที่สุด และกรุงตูิรนก็เป็นที่ีล้ภัยทางการเมืองและศูนย์กลางของขบวนการชาตินิยมอิตาลี ขณะเดียวกันในต้นทศวรรษ ๑๘๕๐ ปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียก็ได้คาวัวร์ นักชาตินิยมที่มีความสามารถและเฉลียวฉลาดและเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและกระทรวงการคลังจนปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียมีฐานะทางเศรษฐกิจที่มั่นคงมาเป็นนายกรัฐมนตรี ปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียจึงเป็นความหวังของกลุ่มชาตินิยมอิตาลีที่จะเป็นผู้นำในการรวมอิตาลีอีกครั้งหนึ่ง
     จากบทเรียนของความล้มเหลวของการปฏิวัติ ค.ศ. ๑๘๔๘ ทำให้คาวัวร์ตระหนักว่าแม้ชาวอิตาลีจะมีความรักชาติและพร้อมที่จะต่อสู้ก็ตาม แต่หากปราศจากกำลังสนับสนุนจากภายนอกแล้ว ความหวังที่จะล้มล้างอำนาจและอิทธิพลของออสเตรีย ให้หมดไปจากคาบสมุทรอิตาลีย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น เขาจึงดำเนินนโยบายทางการทูตอย่างเฉลียวฉลาดโดยพยายามผูกมิตรกับมหาอำนาจยุโรป ในค.ศ. ๑๘๕๔ ปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียได้ลงนามในสนธิสัญญากับอังกฤษและฝรั่งเศส และส่งทหารจำนวน ๑๗,๐๐๐ คนเพื่อร่วมทำสงครามกับรัสเซีย ในสงครามไครเมีย(Crimean War ค.ศ. ๑๘๕๓-๑๘๕๖) แม้ว่าทหารจำนวนมากจะเสียชีวิตในสนามรบแต่เกียรติภูมิที่ปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียได้รับก็คือการมีผู้แทนเข้าประชุมเคียงบ่าเคียงไหล่กับมหาอำนาจยุโรปในการทำสนธิสัญญาปารีส (Treaty of Paris ค.ศ. ๑๘๕๖) เพื่อยุติสงคราม คาวัวร์ได้ถือโอกาสเสนอปัญหาอิตาลีและกล่าวโจมตีการปกครองอันกดขี่ข่มเหงของออสเตรีย ในดินแดนภาคเหนือของอิตาลี ซึ่งที่ประชุมได้แสดงความเห็นใจปี ดมอนต์-ซาร์ดิเนียเป็นอันมาก ต่อมา คาวัวร์ได้ดำเนินนโยบายใช้สงครามเป็นพื้นฐานของนโยบายการรวมชาติและประสบความสำเร็จใน ค.ศ. ๑๘๕๘เมื่อชักจูงให้จักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ (Napoleon III ค.ศ. ๑๘๕๒-๑๘๗๑)อดีตเจ้าชายหลุยส์ นโปเลียนประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส ที่สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิฝรั่งเศส ที่ ๒ (Second Empire of France) ใน ค.ศ. ๑๘๕๒ ซึ่งมีโนบายจะเผยแพร่พระเกียรติยศของราชวงศ์โบนาปาร์ตและฝรั่งเศส ให้สัญญาจะช่วยเหลือปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียในกรณีที่เกิดสงครามกับออสเตรีย โดยฝรั่งเศส จะได้รับเมืองนีซและซาวอยเป็นสิ่งตอบแทน ใน ค.ศ. ๑๘๕๙ ปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียจึงก่อสงครามกับออสเตรีย ซึ่งมีผลให้รัฐบาลของออสเตรีย ในทัสกานีและมัสซา (Massa) รวมทั้งคาร์รารา (Carrara) ปาร์มา โมเดนา (Modena) และราชอาณาจักรซิซีลีทั้งสองถูกพวกปฏิวัติชาวอิตาลีโค่นล้ม ต่อมาดินแดนต่าง ๆดังกล่าวได้รวมตัวกันกับราชอาณาจักรปีดมอนต์-ซาร์ดิเนียและสถาปนาเป็น “ราชอาณาจักรอิตาลี”เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ค.ศ.๑๘๖๑ ณ รัฐสภาในกรุงตูิรน โดยมีพระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ ๒ แห่งราชวงศ์ซาวอยได้รับสถาปนาเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของประเทศ
     แม้จะประกาศสถาปนาราชอาณาจักรอิตาลีได้ แต่การรวมดินแดนของชาวอิตาลีทั้งหมดก็ยังไม่สัมฤทธิ์ ผล ทั้งนี้เพราะวินีเชียยังอยู่ใต้การปกครองของออสเตรีย และโรมถูกกองทหารฝรั่งเศส ควบคุม อย่างไรก็ดี สงครามเจ็ดสัปดาห์(Seven Weeksû War ค.ศ. ๑๘๖๖) ระหว่างปรัสเซีย กับออสเตรีย และสงครามฝรั่งเศส -ปรัสเซีย (Franco-Prussian War ค.ศ. ๑๘๗๐-๑๘๗๑) ในเวลาต่อมาทำให้อิตาลีสามารถผนวกวินีเชียและโรมได้ตามลำดับ ในกรณีหลัง สันตะปาปาไพอัสที่ ๙ ทรงพยายามรวมกำลังทหารต่อต้าน แต่ไม่สำเร็จ กองทหารอิตาลีสามารถเข้ายึดกรุงโรมได้และประกาศตั้งโรมเป็นเมืองหลวงของประเทศ การรวมชาติอิตาลีทางกายภาพจึงสำเร็จสมบูรณ์ อย่างไรก็ดี การไม่ยอมรับการสูญเสียอำนาจอธิปไตยของสันตะปาปาได้สร้างความร้าวฉานระหว่างรัฐกับศาสนจักร สันตะปาปาทรงประท้วงรัฐบาลด้วยการจำกัดที่ประทับแต่เฉพาะในวังวาติกันเท่านั้น และเรียกพระองค์ว่า “นักโทษแห่งวาติกัน” อีกทั้งยังห้ามผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกมีส่วนร่วมในการเมืองอิตาลีอีกด้วย ซึ่งกลายเป็น “ปัญหากรุงโรม” (The RomanQuestion) ที่สร้างความอ่อนแอให้แก่รัฐบาลอิตาลี ความขัดแย้งดังกล่าวได้ดำเนินติดต่อกันจนมุสโสลีนีผู้นำของอิตาลีสามารถทำความตกลงระหว่างสันตะปาปากับรัฐบาล ค.ศ. ๑๙๒๙ (Concordat 1929) หรือสนธิสัญญาลาเทอรัน (Treaty ofLateran) ยอมรับเอกราชของนครวาติกัน ที่มีสันตะปาปาเป็นประมุข และจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยดินแดนที่รัฐบาลอิตาลีได้ยึดรัฐสันตะปาปาเมื่อมีการรวมชาติอิตาลีใน ค.ศ. ๑๘๗๐ และให้คริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเป็นศาสนาประจำชาติอิตาลี
     ในระยะแรก รัฐบาลอิตาลีได้มุ่งความสนใจในการพัฒนาปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย และพยายามแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจระหว่างทางตอนเหนือกับทางตอนใต้อย่างไรก็ดีเมื่อพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายซึ่งมีอากอสตีนาเดเปรติส (Agostina Depretis) เป็นหัวหน้าได้รับอำนาจบริหารประเทศใน ค.ศ. ๑๘๗๖อิตาลีก็พยายามเข้าไปมีบทบาททางการเมืองของยุโรป อีกทั้งยังยึดถือลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) ในการขยายอำนาจเข้าไปในแอฟริกา แต่การแสวงหาอาณานิคมดังกล่าวนี้ ทำให้อิตาลีต้องขัดแย้งกับฝรั่งเศส เพราะถูกฝรั่งเศส กีดกันไม่ให้ยึดครองตูนิเซีย (Tunisia) จนต้องหันไปดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับเยอรมนี และร่วมลงนามในสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคี (Triple Alliance) กับเยอรมนี และออสเตรีย -ฮังการี ใน ค.ศ. ๑๘๘๒อันเป็นการแบ่งค่ายที่สำคัญของมหาอำนาจยุโรปก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑ ต่อมาในรัฐบาลของฟรานเชสโก กริสปี (FrancescoCrispi ค.ศ. ๑๘๘๗-๑๘๙๑, ค.ศ. ๑๘๙๓-๑๘๙๖) ซึ่งมีนโยบายที่จะสร้างอาณานิคมขนาดใหญ่ในแอฟริกาอิตาลีสามารถสถาปนาอำนาจอารักขาดินแดนโซมาลี(Somali)ทางตอนใต้ของโซมาลีแลนด์ของอังกฤษใน ค.ศ. ๑๘๙๐ ซึ่งต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๐๕ก็เข้าไปมีอำนาจปกครองอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ อิตาลียังได้เข้ายึดครองแคว้นเอริเทรีย (Eritrea) บนฝั่งตะวันออกของแอฟริกา และดำเนินนโยบายขยายอาณานิคมให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดได้ก่อสงครามอะบิสซิเนีย (AbyssinianWars) ครั้งแรกกับอะบิสซิเนีย [หลัง ค.ศ. ๑๙๕๓ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เอธิโอเปีย(Ethiopia)] แต่พ่ายแพ้ใน ค.ศ. ๑๘๙๕ และต้องยอมถอนตัวออกจากอะบิสซิเนียนับเป็นการสูญเสียเกียรติภูมิของประเทศ ส่วนภายในประเทศ อิตาลีก็ได้รับผลกระทบจากนโยบายการตั้งกำแพงภาษีศุลกากร ทำให้อิตาลีต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวทางเศรษฐกิจ สินค้าทางการเกษตรถูกต่อต้านจากตลาดต่างประเทศและไม่สามารถส่งออกไปจำหน่าย ระหว่าง ค.ศ. ๑๘๘๗-๑๙๐๐ ชาวไร่ชาวนาอิตาลีที่ยากจนที่อาศัยอยู่ในตอนใต้ของประเทศจึงอพยพออกไปตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกาประมาณปีละ ๕๐๐,๐๐๐ คน ส่วนรัฐบาลก็ไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาความแตกต่างระหว่างดินแดนทางตอนเหนือซึ่งกำลังเติบใหญ่เป็นเขตอุตสาหกรรมกับดินแดนทางตอนใต้ซึ่งเป็นเขตเกษตรกรรมที่ล้าหลังได้
     ระหว่างต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ จนถึงการเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ รัฐบาลอิตาลีซึ่งมีโจวันนีโจลิตตี(Giovanni Giolitti) เป็นนายกรัฐมนตรีได้พยายามขยายอำนาจและอิทธิพลของอิตาลีเข้าไปในแอฟริกามากยิ่งขึ้น ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุน นายธนาคาร นักอุตสาหกรรมตลอดจนองค์กรคริสต์ศาสนาและชาวไร่ชาวนาที่ยากจนในตอนใต้ของประเทศที่ต้องการได้รับที่ดินให้เปล่าเพื่อทำการเพาะปลูก ใน ค.ศ. ๑๙๑๑อิตาลีได้ก่อสงครามอิตาลี-ตุรกี(Italo-Turkish Warค.ศ. ๑๙๑๑-๑๙๑๒) เพื่อยึดครองตริโปลี (Tripoli) หรือลิเบีย (Libya) รวมทั้งดินแดนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในแอฟริกาที่ตั้งอยู่ฝั่งตรงกันข้ามกับอิตาลี
     

     


     ตุรกีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และต้องยินยอมทำสนธิสัญญาโลซาน (Treaty of Lausanne)โดยอิตาลีได้ครอบครองตริโปลีรวมทั้งหมู่เกาะโดเดคะนีส (Dodecanese) ในทะเลอีเจียนที่ยึดได้ระหว่างสงคราม ชัยชนะดังกล่าวแม้จะทำให้อิตาลีก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจยุโรปและกู้ศักดิ์ศรีที่เสียไปในสงครามอะบิสซิเนียได้ แต่อิตาลีก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำสงครามอย่างมาก จนต้องเรียกเก็บภาษีในอัตราที่สูงมากขึ้นก่อให้เกิดการประท้วงทั่วไปจนเศรษฐกิจของประเทศเป็นอัมพาต ในที่สุดก็ทำให้จีโอลิตตีต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๔
     ในระยะแรกของสงครามโลกครั้งที่ ๑ อิตาลีได้ประกาศตนเป็นกลางทั้งที่ก่อนหน้านี้ได้ร่วมเป็นภาคีสมาชิกของสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรภาคีและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคู่สนธิสัญญาโดยเฉพาะเยอรมนี ต่อมาในต้น ค.ศ. ๑๙๑๕อังกฤษฝรั่งเศส และรัสเซีย ก็สามารถชักชวนให้อิตาลีเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตรได้ โดยมีการลงนามในสนธิสัญญาลอนดอน (Treaty of London) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาลับ โดยฝ่ายสัมพันธมิตรจะตอบแทนอิตาลีด้วยการยกดินแดนต่าง ๆ ให้ เช่น ตรีเอสเต(Trieste) เตรนตีโน (Trentino) อิสเตรีย (Istria) ดัลเมเชีย (Dalmatia) รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ในแอฟริกาและดินแดนในครอบครองของตุรกีอิตาลีจึงเข้าเป็นฝ่ายความตกลงไตรภาคี(Triple Entente) หรือฝ่ายสัมพันธมิตร โดยประกาศสงครามกับออสเตรีย -ฮังการี ในวันที่ ๒๓พฤษภาคม และอีก ๑ ปี ต่อมาในวันที่ ๒๘ สิงหาคมกับเยอรมนี
     เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง แม้อิตาลีจะไม่ประสบความสำเร็จมากนักในการรบเพราะกองทัพอิตาลีไม่แข็งแกร่งพอที่จะต้านทานการบุกของฝ่ายมหาอำนาจกลาง(Central Powers) ได้ แต่อิตาลีก็ได้รับยกย่องให้ เป็นหนึ่งในสี่มหาอำนาจ(The Big Four) ร่วมกับสหรัฐอเมริกาอังกฤษ และฝรั่งเศส [รัสเซีย ได้ถอนตัวออกจากสงครามใน ค.ศ. ๑๙๑๗ เมื่อเกิดการปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution)]ในการประชุมสันติภาพแห่งปารีส (Paris Peace Conference) ในต้น ค.ศ. ๑๙๑๙อิตาลีถูกประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน (Woodrow Wilson) แห่งสหรัฐอเมริการวมทั้งนายกรัฐมนตรีเดวิด ลอยด์ จอร์จ (David Lloyd George) แห่งอังกฤษและนายกรัฐมนตรีชอร์ช เกลมองโซ (Georges Cl”menceau) แห่งฝรั่งเศส ขัดขวางไม่ให้อิตาลีได้รับดินแดนทั้งหมดตามข้อตกลงในสนธิสัญญาลอนดอน ซึ่งสร้างความผิดหวังให้แก่นายกรัฐมนตรีิวตโตรีโอ เอมมานูเอล (Vittorio Emanuele) ของอิตาลีเป็นอันมาก รวมทั้งประชาชนอิตาลีด้วย ซึ่งต่อมาได้หันไปสนับสนุนลัทธิฟาสซิสต์(Fascism) เพื่อรวมพลังกัน โดยเน้นลัทธิชาตินิยมในการกอบกู้สถานภาพและศักดิ์ศรีของประเทศที่อิตาลีต้องเสียหน้าในเวทีการเมืองโลก
     ในต้นทศวรรษ ๑๙๒๐ อิตาลีต้องเผชิญกับความวุ่นวายทางการเมืองและสังคม ซึ่งพรรคประชาชน (Popular Party) และพรรคสังคมนิยม (Socialist Party)ที่ได้อำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ พรรคฟาสซิสต์ซึ่งจัดตั้งโดยเบนีโต มุสโสลีนี(Benito Mussolini) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๑๙ มีนโยบายต่อสู้กับความยากจน การถูกยำย่ ีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และความเป็นชาติและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงเห็นเป็นโอกาสในการเคลื่อนไหวทางการเมืองและได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนมากขึ้น ๆ ในปลายเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๒๒พรรคฟาสซิสต์ซึ่งยึดครองพื้นที่ในเขตชนบทในภาคเหนือของอิตาลีได้เกือบทั้งหมดได้เรียกร้องให้รัฐบาลสละอำนาจในการปกครองประเทศให้แก่พรรคฟาสซิสต์ รัฐบาลจึงทูลให้พระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ ๓ (Victor Emmanuel III ค.ศ. ๑๙๐๐-๑๙๔๑)ประกาศกฎอัยการศึก แต่ทรงปฏิเสธ นายกรัฐมนตรีลุยจีฟัชตา (Luigi Facta) จึงประกาศลาออกในวันที่ ๒๘ ตุลาคม กองทัพเชิ้ตดำ (black shirts) ซึ่งประกอบด้วยประชาชน ๕๐,๐๐๐ คนและมีมุสโสลีนีเป็นผู้นำได้เคลื่อนขบวนเข้าสู่กรุงโรมเรียกกันต่อมาว่า “การเดินขบวนสู่กรุงโรม” (March on Rome) เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะ มุสโสลีนีได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๒๗ ก็สามารถสถาปนาอำนาจเผด็จการและอยู่ในฐานะ ดูเช หรือ “ผู้นำ” (Duce) ของประเทศที่ไม่มีอำนาจใดมาทัดทานได้ นอกจากการดำเนินนโยบายภายในเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมศาสนา และวัฒนธรรมแล้ว มุสโสลีนียังพยายามขยายอำนาจและบทบาทของอิตาลีในต่างแดนอีกด้วย ใน ค.ศ. ๑๙๒๔ได้เข้ายึดเมืองฟีอู เม (Fiume) เมืองท่าสำคัญในทะเลเอเดรียติกที่อิตาลีต้องการครอบครองแต่ถูกขัดขวางในการประชุมสันติภาพแห่งปารีส ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๓๕อิตาลีได้ก่อสงครามอะบิสซิเนียอีกครั้งเพื่อแก้แค้นที่อิตาลีเคยปราชัยใน ค.ศ. ๑๘๙๕สงครามครั้งนี้ ซึ่งเรียกว่า สงครามอิตาลี-เอธิโอเปี ย (Italo-Ethiopian War)เป็นสงครามขยายอาณาเขตของอิตาลีในแอฟริกาตะวันออกเพื่อสร้างจักรวรรดิอิตาลีในทวีปแอฟริกา หลังจากได้รับชัยชนะพระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ ๓ ก็ทรงได้รับสถาปนาเป็นจักรพรรดิแห่งอะบิสซิเนียอีกด้วย
     การรุกรานอะบิสซิเนียดังกล่าวทำให้สันนิบาตชาติ (League of Nations)ลงมติทำโทษอิตาลีทางเศรษฐกิจ แต่มุสโสลีนีก็สามารถผูกมิตรกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์(Adolf Hitler) ผู้นำเยอรมนี ที่นิยมระบอบการปกครองแบบฟาสซิสต์เช่นกัน และได้รับความช่วยเหลือจากเยอรมนี ต่อมามุสโสลีนีก็ร่วมมือกับฮิตเลอร์ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่พลเอก ฟรันซิสโก ฟรังโก (Francisco Franco) นักชาตินิยมสเปน ยึดอำนาจการปกครองของรัฐบาลในสงครามกลางเมืองสเปน (Spanish CivilWar ค.ศ. ๑๙๓๑-๑๙๓๙) ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ จะเกิดขึ้นใน ค.ศ. ๑๙๓๙ความสัมพันธ์ระหว่างอิตาลีกับเยอรมนี ก็แนบแน่นมากขึ้นเป็นลำดับ ต่างฝ่ายต่างสนับสนุนอีกฝ่ายในการเข้ายึดครองดินแดนต่าง ๆ ท้ายที่สุดทั้งสองประเทศได้ตกลงทำสนธิสัญญาให้ความร่วมมือกันทางทหารในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๓๙ ซึ่งต่อมาเยอรมนี ก็ได้ผนวกโบฮีเมียเข้าเป็นรัฐในอารักขา และอิตาลีเข้าครอบครองแอลเบเนีย ในเดือนเมษายนพระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ ๓ ทรงได้รับสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งแอลเบเนีย
     ในตอนต้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ อิตาลีไม่ให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่เยอรมนี แต่ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๔๐ ก็ปรับเปลี่ยนโยบายและเข้ารบเป็นฝ่ายเยอรมนี ชัยชนะของฝ่ายพันธมิตรในการยึดครองซิซีลีในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๔๓ มีผลให้พระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ ๓ ปลดมุสโสลีนีออกจากตำแหน่งผู้นำและจับคุมขังขณะเดียวกันระบบฟาสซิสต์ของอิตาลีก็ถูกทำลาย แต่มุสโสลีนีก็หนีออกจากกรุงโรมและไปจัดตั้งสาธารณรัฐซาเลาะ (Republic of Salò) ทางตอนเหนือภายใต้ความอารักขาของเยอรมนี เขาถูกฆ่าตายใน ค.ศ. ๑๙๔๕ ขณะพยายามหนีไปยังสวิตเซอร์แลนด์
     หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ อิตาลีซึ่งเป็นฝ่ายแพ้สงครามก็ประสบกับปัญหาการบูรณะฟื้นฟูประเทศ เพราะสนธิสัญญาปารีสซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ค.ศ. ๑๙๔๗ ทำให้อิตาลีถูกลดกำลังอาวุธและถูกควบคุมทางทหารทั้งยังสูญเสียอาณานิคมในแอฟริกาและดินแดนที่เคยยึดครองทั้งหมด ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมากแก่สหภาพโซเวียต อะบิสซิเนีย และหลายประเทศในคาบสมุทรบอลข่าน สหรัฐอเมริกาซึ่งควบคุมการปกครองในอิตาลีจึงให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่อิตาลีตามแผนมาร์แชลล์ (Marshall Plan) และสนับสนุนให้พรรคคริสเตียนประชาธิปไตย (Christian Democratic Party) ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรคการเมืองใหญ่ ๓ พรรคที่ก่อตั้งขึ้นภายหลังสงครามให้ได้อำนาจทางการเมืองในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๔๖ แม้พรรคคริสเตียนประชาธิปไตยจะมีชัยชนะเหนือพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่ได้เสียงเด็ดขาดเพราะได้คะแนนเสียงเพียง ๒ ใน ๕ ของผู้ออกเสียงเลือกตั้งทั้งหมดอย่างไรก็ดีพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยก็ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลและอัลชีเด เด กัสเปรี(Alcide de Gasperi) ผู้นำพรรคที่ฉลาดมีระเบียบวินัยและวิสัยทัศน์อันกว้างก็สามารถทำให้พรรคคริสเตียนประชาธิปไตยคุมอำนาจทางการเมืองไว้ได้ยาวนาน ในช่วงเวลาเดียวกัน ชาวอิตาลีร้อยละ ๕๔ยังออกเสียงลงประชามติเปลี่ยนการปกครองจากระบอบกษัตริย์เป็นสาธารณรัฐ ข้อเรียกร้องดังกล่าวทำให้พระเจ้าฮัมเบิร์ตที่ ๒ หรือพระเจ้าอุมแบร์โตที่ ๒ (Humbert II; Umberto II ค.ศ. ๑๙๔๖-๑๙๘๓)กษัตริย์พระองค์ใหม่ที่เพิ่งครองสิิรราชสมบัติได้เพียง ๑ เดือนภายหลังที่พระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ ๓ พระราชบิดาทรงสละราชสมบัติต้องเสด็จไปประทับ ณประเทศโปรตุเกส ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. ๑๙๔๘ สาธารณรัฐอิตาลีก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ โดยเรียกชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐอิตาลี(ItalianRepublic) สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญซึ่งมีบทบัญญัติรวม ๑๓๙ มาตรา และบทเฉพาะกาล ๑๘ มาตรา คือ การกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น การกำหนดขอบเขตอำนาจและสถานภาพของนครวาติกัน และการให้สิทธิการออกเสียงเลือกตั้งแก่สตรี
     ระหว่าง ค.ศ. ๑๙๔๖-๑๙๕๔ รัฐบาลผสมซึ่งมีเด กัสเปรีเป็นนายกรัฐมนตรีสามารถแก้ไขปั ญหาเศรษฐกิจที่ทรุดหนักของประเทศให้บรรเทาลงและทำให้เสถียรภาพทางการเมืองมีความมั่นคงขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ เด กัสเปรีเน้นการสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกาและนครวาติกัน และการปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานทางอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม เขาจัดทำโครงการปฏิรูปที่ดินระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนทางตอนกลางและทางตอนใต้ของประเทศ และสนับสนุนส่งเสริมการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรม มีการสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังน้ำและแก๊ สธรรมชาติเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งสถาบันเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม และกองทุนเพื่อพัฒนาอิตาลีตอนใต้ขึ้นในรูปโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่นงานด้านการคมนาคม การบริการสาธารณะ การระบายน้ำและอื่น ๆ โครงการต่าง ๆ เหล่านี้จึงมีส่วนช่วยลดช่องว่างและความแตกต่างทางเศรษฐกิจระหว่างเขตอุตสาหกรรมทางตอนเหนือกับเขตเกษตรกรรมทางตอนใต้ และทำให้เกษตรกรที่ยากจนทางตอนใต้สนับสนุนและนิยมรัฐบาลมากขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลยังกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ๑๕ ปี(ค.ศ. ๑๙๕๐-๑๙๖๕) และสนับสนุนบรรษัทเอกชนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ นโยบายเศรษฐกิจดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างมากปัญหาการว่างงานและการขาดดุลทางการค้าระหว่างประเทศลดน้อยลงตามลำดับและรายได้ประชาชาติระหว่าง ค.ศ. ๑๙๕๓-๑๙๖๒ ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็น ๒ เท่าครึ่งของช่วงก่อนสงคราม ภายในช่วงเวลาเพียง ๓ ทศวรรษ อิตาลีก็กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าและทันสมัย แม้ดินแดนทางตอนใต้จะยังคงล้าหลังและพัฒนาล่าช้า แต่ประเทศก็พัฒนาเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว การอพยพเคลื่อนย้ายของประชากรจากชนบทสู่เมืองและจากใต้ไปเหนือซึ่งมีขึ้นอย่างต่อเนื่องยังมีส่วนทำให้โครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจรวมทั้งการเมืองเริ่มเปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะเริ่มมีการทำอุตสาหกรรมหนักขึ้นตามเมืองใหญ่ต่าง ๆ และอุตสาหกรรมหนักก็ได้เข้ามาแทนที่เกษตรกรรมในฐานะเป็นปัจจัยหลักของผลผลิตประชาชาติอิตาลีจึงได้รับการยกย่องว่าสามารถสร้างความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจได้เช่นเดียวกับเยอรมนี ในสมัยนายกรัฐมนตรีคอนราดอาเดเนาร์ (Konrad Adeneauer)
     ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองเปิดโอกาสให้อิตาลีมีบทบาทและส่วนร่วมในการก่อตั้งองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศในภาคพื้นทวีปยุโรป ในค.ศ. ๑๙๔๙อิตาลีได้ร่วมลงนามกับสหรัฐอเมริกาและประเทศยุโรปตะวันตกอื่น ๆ ในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ซึ่งนำไปสู่การสถาปนาองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต (North Atlantic Treaty Organization -NATO) ขึ้นอิตาลีเป็นสมาชิกนาโตประเทศแรกที่ยอมให้สหรัฐอเมริกาสร้างฐานทัพจรวดขึ้นในประเทศ ต่อมาใน ค.ศ. ๑๙๕๒ อิตาลีก็ให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany) หรือเยอรมนี ตะวันตกและกลุ่มประเทศแผ่นดินตำหร่ ือเบเนลักซ์ (Benelux) ก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรปหรืออีซีเอสซี (European Coal and SteelCommunity - ECSC) ขึ้น เพื่อควบคุมและพัฒนาถ่านหินและเหล็กกล้าของกลุ่มสมาชิกทั้ง ๖ ประเทศ ความสำเร็จในการดำเนินงานของประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายังนำไปสู่ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเมืองอื่น ๆ อีก ได้แก่ การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรืออีอีซี(European Economic Community - EEC)หรือประชาคมยุโรปหรืออีซี(European Community - EC) และประชาคมป้องกันยุโรปหรืออีดีซี(European Defence Community - EDC)
     ใน ค.ศ. ๑๙๕๖ เมื่อนีกีตา ครุชชอฟ (Nikita Khrushchev) ผู้นำสหภาพโซเวียตเริ่มนโยบายการล้มล้างอิทธิพลของสตาลิน (De-Stalinization) นโยบายดังกล่าวได้สร้างความแตกแยกทางความคิดระหว่างพรรคสังคมนิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งสนับสนุนนโยบายของครุชชอฟ พรรคสังคมนิยมซึ่งไม่เห็นด้วยกับการที่สหภาพโซเวียตส่งกำลังทหารเข้าไปปราบปรามการลุกฮือของชาวฮังการี (Hungary Uprising) จึงเริ่มถอนตัวจากการเป็นพันธมิตรของพรรคคอมมิวนิสต์และแสดงท่าทีสนับสนุนพรรคคริสเตียนประชาธิปไตย นโยบายทางการเมืองยังทำให้สันตะปาปาไพอัสที่ ๑๒ (Pius XII) ทรงเข้าแทรกแซงด้วยการโน้มน้าวให้พรรคคริสเตียนประชาธิปไตยเป็นพันธมิตรกับกลุ่มกษัตริย์นิยมและกลุ่มฟาสซิสต์ใหม่(Neo-Facism) เพื่อขัดขวางไม่ให้พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายมีบทบาททางการเมืองอย่างไรก็ตาม เมื่อสันตะปาปาจอห์นที่ ๒๓ (John XXIII) ขึ้นดำรงตำแหน่งประมุขแห่งนครวาติกันใน ค.ศ. ๑๙๕๘พระองค์ทรงดำเนินนโยบายลดบทบาทของคริสตจักรในการเมืองอิตาลีนโยบายดังกล่าวมีส่วนทำให้ผู้แทนพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายมีโอกาสได้รับเลือกตั้งเพิ่มมากขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ รัฐบาลผสมที่จัดตั้งขึ้นในกลางทศวรรษ ๑๙๕๐ ถึงทศวรรษ ๑๙๖๐ จึงเป็นการผสมผสานกันหลายรูปแบบระหว่างพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายและขวาซึ่งประกอบด้วยพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยพรรคสังคมนิยมพรรคประชาธิปไตยสังคม และพรรคสาธารณรัฐนิยม
     รัฐบาลผสมที่บริหารประเทศตั้งแต่กลางทศวรรษ ๑๙๖๐ เป็นต้นมามักขัดแย้งกันด้านแนวนโยบายและมีการปรับเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีบ่อยครั้งจนโครงงานต่าง ๆ ของรัฐต้องหยุดชะงักงัน แผนปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศจึงประสบความล้มเหลวและนำไปสู่การเกิดสภาวะเงินเฟ้อและเศรษฐกิจตกต่ำ ใน ค.ศ. ๑๙๖๘นักศึกษาซึ่งได้แรงบันดาลใจจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษาฝรั่งเศส ในเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า “ฤดูใบไม้ผลิแห่งกรุงปารีส”(Paris Spring) ได้ก่อการจลาจลเรียกร้องการปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปทางสังคม และเศรษฐกิจ การเคลื่อนไหวทางการเมืองดังกล่าวทำให้กรรมกรชุมนุมนัดหยุดงานทั่วไปครั้งใหญ่ใน ค.ศ. ๑๙๖๙เพื่อเรียกร้องสวัสดิการทางสังคมและการออกกฎหมายเพิ่มค่าแรงงานและอื่น ๆความวุ่นวายทางการเมืองและสังคมดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก การพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมแทบจะหยุดนิ่งและอัตราการว่างงานรวมทั้งภาวะเงินเฟ้อมีมากขึ้น นอกจากนี้ ลัทธิก่อการร้ายก็เริ่มก่อตัวขึ้นและรัฐบาลซึ่งขาดเสถียรภาพทางการเมืองก็ไม่สามารถปราบปรามได้ ตั้งแต่ปลายทศวรรษ ๑๙๗๐ เป็นต้นมา การลักพาตัว การลอบทำร้าย การสังหาร และการโจรกรรมเริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของชาวอิตาลีจนอิตาลีได้รับการขนานนามว่า “คนป่วยแห่งทวีปยุโรป”(Sick Man of Europe) ซึ่งเคยเป็นสมญานามของจักรวรรดิออตโตมัน การก่อการร้ายที่รุนแรงเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. ๑๙๗๘เมื่ออัลโด โมโร (Aldo Moro) ผู้นำพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยและอดีตนายกรัฐมนตรีถูกกลุ่มฝ่ายซ้ายที่เรียกว่า บรีกาเต รอสเซ (Brigate Rosse) ลักพาตัวโดยตั้งเงื่อนไขให้รัฐบาลปล่อยสมาชิกของฝ่ายตนที่ถูกจับขัง แต่รัฐบาลปฏิเสธที่จะยอมเจรจาด้วย โมโรจึงถูกสังหารและศพของเขาถูกทิ้งไว้ในกระโปรงหลังรถยนต์ซึ่งจอดไว้ิรมถนนในกรุงโรม การฆาตกรรมครั้งนี้ทำให้รัฐบาลต้องเริ่มใช้มาตรการรุนแรงตอบโต้การก่อการร้าย นอกจากนี้ กลุ่มลัทธิฟาสซิสต์ใหม่ก็ก่อการเคลื่อนไหวด้วยวิีธการรุนแรง เป็นต้นว่าการลอบวางระเบิดสถานีรถไฟโบโลญญา ใน ค.ศ. ๑๙๘๐ ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ใน ค.ศ. ๑๙๘๑ เมห์เหม็ดอาลีอักกา (Mehmet Ali Agca)ชาวตุรกีซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้ายก็พยายามลอบสังหารสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ ๒ (John Paul II) ระหว่างเสด็จผ่านฝูงชนที่จตุรัสเซนต์ปีเตอร์ แต่พระองค์ทรงรอดพ้นจากอันตรายและอักกาถูกจับกุมและถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตขณะเดียวกันกลุ่มมาเฟียที่มีสัมพันธ์กับนักการเมืองก็มักก่อเหตุวุ่นวายต่าง ๆ ขึ้นตลอดช่วงทศวรรษ ๑๙๘๐ ถึงต้นทศวรรษ ๑๙๙๐ เพื่อแสดงอิทธิพลและอำนาจทางการเมือง ใน ค.ศ. ๑๙๙๒ กลุ่มมาเฟียวางระเบิดท่าอากาศยานซึ่งทำให้ครอบครัวผู้พิพากษาและผู้ติดตามเสียชีวิต ความรุนแรงดังกล่าวทำให้รัฐบาลหันมาต่อต้านกลุ่มมาเฟียด้วยการสะสางความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับกลุ่มมาเฟียและดำเนินการปราบปรามอย่างเด็ดขาด
     ในกลางทศวรรษ ๑๙๗๐ พรรคคอมมิวนิสต์เริ่มมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น เนื่องจากปรับนโยบายจากการใช้ความรุนแรงเพื่อให้ได้อำนาจทางการเมืองมาสนับสนุนระบบการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย พรรคคอมมิวนิสต์อิตาลีได้ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส และสเปน ดำเนินนโยบายเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต โดยรวมตัวเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์อิสระที่เรียกว่ายูโรคอมมิวนิสต์(Eurocommunism) นโยบายเสรีนิยมของพรรคคอมมิวนิสต์ทำให้พรรคได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั่วไปมากขึ้น และจำนวนสมาชิกก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. ๑๙๗๖พรรคคอมมิวนิสต์ได้รับเลือกจากประชาชนเพิ่มจากร้อยละ๒๗ เป็นร้อยละ ๓๔ แต่ก็ยังน้อยกว่าพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยประมาณร้อยละ๔ พรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งมีเอนรีโก แบร์ลิงแนร์ (Enrico Berlingner) เป็นผู้นำจึงเข้าร่วมเป็นรัฐบาลผสม อย่างไรก็ตาม พรรคคริสเตียนประชาธิปไตยก็พยายามแสวงหาพันธมิตรต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์ โดยยอมให้โจวันนีสปาโดลีนี(GiovanniSpadolini) จากพรรคสาธารณรัฐนิยมและเบตตีโน กราซี (Bettino Craxi) จากพรรคสังคมนิยมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน ค.ศ. ๑๙๘๑ และ ๑๙๘๓ ตามลำดับพรรคคอมมิวนิสต์หลัง ค.ศ. ๑๙๗๙ เป็นต้นมาจึงกลายเป็นพรรคฝ่ายค้านมาโดยตลอด
     ปัญหาการก่อการร้ายและความอ่อนแอของรัฐบาลผสมชุดต่าง ๆ ที่ผลัดกันเข้ามาบริหารประเทศไม่เพียงจะทำให้อิตาลีขาดเสถียรภาพทางการเมืองเท่านั้น แต่สภาวะเศรษฐกิจตั้งแต่กลางทศวรรษ ๑๙๗๐ เป็นต้นมาก็อยู่ในสภาพเสื่อมทรุดด้วยวิกฤตการณ์น้ำมันโลกใน ค.ศ. ๑๙๗๓ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศภาวะเงินเฟ้อถีบตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนค่าเงินลีร์ (lira) ตกตำและไร่ ้ค่า รัฐบาลผสมแต่ละชุดพยายามแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น การเก็บภาษีที่เข้มงวดมากขึ้นการตัดทอนรายจ่ายของรัฐลง รวมทั้งการทำลายระบบการผูกขาดทางการค้าของกลุ่มมาเฟียต่าง ๆ และอื่น ๆ ส่งผลให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจเริ่มกระเตื้องขึ้นในต้นทศวรรษ ๑๙๘๐ ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จอีกประการ ได้แก่ การขยายตัวของตลาดมืดและการมีค่าแรงถูกทั้งยังมีจำนวนเหลือเฟื อเพราะแรงงานส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้อพยพจากประเทศโลกที่สามและประเทศยุโรปตะวันออก ค่าเงินลีร์ที่คงที่และการขยายตัวดังกล่าวทางเศรษฐกิจจึงทำให้อิตาลีได้เข้าร่วมในสหภาพการเงินยุโรป(European Monetary Union) ใน ค.ศ. ๑๙๗๙ กลางทศวรรษ ๑๙๘๐ เป็นต้นมาเศรษฐกิจของอิตาลีก็พัฒนาเจริญขึ้น และในทศวรรษ ๑๙๙๐ อิตาลีก็ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในห้าของประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ของโลก ต่อมาใน ค.ศ ๑๙๙๓ อิตาลีก็เป็นหนึ่งใน ๑๕ ประเทศที่ร่วมลงนามในสนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรป (Treaty on theEuropean Union) เพื่อสถาปนาสหภาพยุโรปหรืออียู (European Union - EU) ในค.ศ. ๑๙๙๙ โรมาโน โปรดี (Romano Prodi) อดีตนายกรัฐมนตรีอิตาลีพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยก็ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการยุโรป
     อย่างไรก็ดีในต้นทศวรรษ ๑๙๙๐อิตาลีประสบปัญหาทางการเมืองอย่างหนัก เนื่องจากผู้นำพรรคร่วมรัฐบาลทั้ง ๕พรรค และอดีตนายกรัฐมนตรี๒ คนคือเบตตีโน กราซีและอาร์นัลโด โฟรีอัน (Arnaldo Forian) ถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับการคอร์รัปชันและเกี่ยวข้องกับกลุ่มมาเฟีย เรื่องอื้อฉาวดังกล่าวทำให้ชื่อเสียงของประเทศเสื่อมเสียจนอิตาลีได้ชื่อว่าเป็น “แม่แบบของการติดสินบน” กระแสการเรียกร้องให้ปฏิรูประบบการเมืองและการทำลายล้างอิทธิพลและอำนาจของมาเฟียในซิซีลีและทางภาคใต้ของประเทศ ได้ก่อตัวและขยายตัวอย่างรวดเร็วทั่วประเทศในการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. ๑๙๙๔ ชาวอิตาลีจึงปฏิเสธที่จะเลือกผู้แทนจากพรรคการเมืองเดิม รัฐบาลผสมชุดใหม่ซึ่งประกอบด้วยพรรคฝ่ายขวาและพรรคเสรีนิยมสายกลางโดยมีซิลวีโอ แบร์ลุสโคนี(Silvio Berlusconi) เป็นนายกรัฐมนตรีก็มีนโยบายที่ฟื้นฟูระบบการเมืองของประเทศ กำจัดการคอร์รัปชันและปราบปรามอาชญากรรมอย่างเด็ดขาด นโยบายดังกล่าวจึงได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากประชาชนและช่วยแก้ภาพลักษณ์ของอิตาลี ทั้งยังทำให้ประเทศเป็นที่ยอมรับของนานาชาติมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้อิตาลียังเข้าไปมีบทบาทในการเมืองระหว่างประเทศด้วยการร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ (United Nations) หาทางยุติสงครามบอสเนีย (Bosnia War) ในการนำกองกำลังป้องกันแห่งสหประชาชาติหรืออันโพรฟอร์(United Protection Forces - UNPROFOR) เข้าไปในยูโกสลาเวียและดินแดนที่เกี่ยวข้องระหว่าง ค.ศ. ๑๙๙๔-๑๙๙๕ และส่งกำลังทหารจำนวน ๒,๐๐๐ คนเข้าสมทบกับกองกำลังความมั่นคงขององค์การนาโตในการแก้ไขวิกฤตการณ์การเมืองในคอซอวอ (Kosovo) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๑๙๙๙ และให้ใช้ฐานทัพอากาศทางตอนเหนือของประเทศเป็นฐานปฏิบัติการโจมตียูโกสลาเวียทางอากาศด้วยนอกจากนี้ ใน ค.ศ. ๑๙๙๖อิตาลีเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระหว่างประเทศที่นครตูิรนเพื่อทบทวนการดำเนินงานของสหภาพยุโรปภายหลังจากที่สนธิสัญญามาสตริกต์(Treaty of Maastricht) บังคับใช้มาระยะหนึ่ง การประชุมครั้งนี้นำไปสู่การลงนามของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ๑๕ ประเทศในสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม(Amsterdam Treaty) ในการจะปฏิรูปโครงสร้างสถาบันของสหภาพเพื่อให้ทันกับการขยายตัว และนำไปสู่การประกาศใช้เงินยูโร (Euro) ของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ใน ค.ศ. ๑๙๙๙ ด้วย เมืองตูิรนในเวลาต่อมายังได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวใน ค.ศ. ๒๐๐๖
     ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๒๐๐๑ มีซิลวีโอ แบร์ลูโคนีได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง เขาประกาศนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาการตกงาน การลดภาษีและการปฏิรูประบบราชการและการศึกษา นโยบายดังกล่าวทำให้รัฐบาลได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ฝ่ายต่อต้านแบร์ลูโคนีก็กล่าวหาว่านายกรัฐมนตรีซึ่งมีฐานะมั่งคั่งว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การมาเฟี ยและใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวกับการหลีกเลี่ยงภาษีและการติดสินบน แบร์ลูโคนีจึงถูกฟ้องร้องให้มีการดำเนินคดีหลายข้อหา แต่เขาก็อุทธรณ์และพ้นผิดในหลายคดีความ นอกจากนี้ใน ค.ศ. ๒๐๐๒ จูโออันเดรออตตี(Giuho Andreotti) ในวัย ๘๔ ปี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลายสมัยระหว่าง ค.ศ. ๑๙๗๒-๑๙๙๒ ถูกตัดสินโทษจำคุก๒๔ ปีด้วยความผิดสั่งการให้พวกมาเฟียสังหารนักหนังสือพิมพ์ใน ค.ศ. ๑๙๗๙การตัดสินคดีดังกล่าวมีส่วนสั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาล และทำให้ฝ่ายต่อต้านเคลื่อนไหวโจมตีรัฐบาลอย่างหนัก โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการถูกพิจารณาคดี ต่อมาใน ค.ศ. ๒๐๐๓ รัฐสภาอิตาลีได้ผ่านกฎหมายคุ้มครอง(immunity law) แก่ข้าราชการระดับสูงซึ่งมีส่วนทำให้นายกรัฐมนตรีแบร์ลูโคนีซึ่งกำลังถูกพิจารณาคดีข้อหาติดสินบนผู้พิพากษาใน ค.ศ. ๑๙๘๕ ได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องถูกดำเนินคดีในระหว่างที่เขายังดำรงตำแหน่งด้วย ขณะเดียวกัน ปัญหาการเมืองและความไม่พอใจของประชาชนในประเด็นการสนับสนุนนโยบายปราบปรามผู้ก่อการร้ายของสหรัฐอเมริกา โดยการส่งทหารเข้าร่วมในสงครามอิรักก็มีส่วนทำให้รัฐบาลเสื่อมความนิยมลงในการเลือกตั้งส่วนภูมิภาคเดือนเมษายน ค.ศ. ๒๐๐๕ฝ่ายรัฐบาลพ่ายแพ้อย่างยับเยิน และมีผลให้แบร์ลูโคนีต้องลาออกเมื่อวันที่ ๒๐เมษายน แต่เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคการเมืองต่าง ๆที่ไม่อาจแก้ไขได้ แบร์ลูโคนีจึงกลับมาจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง แต่ก็เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เพราะในการเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. ๒๐๐๖ โรมาโน โปรดี(Romano Prodi)พรรคคริสเตียนประชาธิปไตยได้กลับมาสู่อำนาจทางการเมืองและเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง.
     

ชื่อทางการ
สาธารณรัฐอิตาลี(Republic of Italy)
เมืองหลวง
โรม (Rome)
เมืองสำคัญ
มิลาน (Milan) เนเปิลส์ (Nepels) ตูิรน (Turin) เจนัว (Genoa) และเวนิส (Venice)
ระบอบการปกครอง
สาธารณรัฐ
ประมุขของประเทศ
ประธานาธิบดี
เนื้อที่
๓๐๑,๒๓๐ ตารางกิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ : ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศออสเตรียทิศตะวันออก : ประเทศสโลวีเนีย และทะเลเอเดรียติกทิศใต้ : ทะเลไอโอเนียน และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทิศตะวันตก : ทะเลติร์เรเนียน ทะเลลิกูเรียน (Ligurian) และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกเฉียง
จำนวนประชากร
๕๘,๑๔๗,๗๓๓ คน (ค.ศ. ๒๐๐๗)
เชื้อชาติของประชากร
อิตาลี
ภาษา
อิตาลี
ศาสนา
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ ๙๐ และอื่น ๆ ร้อยละ ๑๐
เงินตรา
ยูโร
มัลติมีเดียประกอบ
-
ผู้เขียนคำอธิบาย
อนันต์ชัย เลาหะพันธุ
แหล่งอ้างอิง
สารานุกรมทวีปยุโรป
ใน ค.ศ. ๓๒๖ จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสร้างเมืองคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) ที่ไบแซนทิอุม (Byzantium) ทางตะวันออกของจักรวรรดิโรมันเพื่อเป็นศู นย์กลางอีกแห่งหนึ่งของจักรวรรดิ เพื่อแบ่งภาระของกรุงโรมในการปกครองและปราบปรามพวกอนารยชน ใน ค.ศ. ๔๗๖ เมื่อจักรวรรดิโรมันทางตะวันตกสิ้นอำนาจ ดินแดนโรมันตะวันออกหรือเรี่ยกกันในขณะนั้นว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ ที่มีกรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นนครหลวงก็ยังดำรงต่อไปและมีจักรพรรดิเชื้อสายโรมัน ปกครองสืบทอดต่อไปจนถึง ค.ศ. ๑๔๕๓ ก่อนถู กพวกเติร์ก (Turk) เข้ายึดครองและรวมเข้าเป็นจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire)